ข่าวไก่ชน ดังนั้นการเข้าชนจึงจะสู้จนกว่าอีกฝ่ายหนึ่งจะวิ่งหนียอมแพ้ หรืออาจถึงขั้นบาดเจ็บหนักและต้องสละชีวิตกันเลยทีเดียว ดังนั้นผู้ที่เป็นเจ้าของ ไก่ชน จึงควรรู้วิธีแก้ไขอาการบาดเจ็บเบื้องต้น เพื่อประคองชีวิตของไก่ชนให้ได้มากที่สุด
ช่วงของการลงชนจริง ถ้า ไก่ชนบาดเจ็บ ที่ไม่ว่าจะในช่วงเวลาใดก็ตาม เรื่องที่คุณควรทำคือเมื่อถึงเวลาพักแล้วต้องรีบรักษาเบื้องต้นให้ทันที เพื่อทำให้ไก่ยังสามารถลงสู้ได้อย่างเต็มที่ ช่วยลดอาการเจ็บปวด และประคองชีวิตไก่ให้กลับไปถึงบ้านได้อย่างปลอดภัย โดยมีวิธีการรักษาเบื้องต้น คือ
1.บาดเจ็บบริเวณตัว
อาการบาดเจ็บที่บริเวณตัวจะมีตั้งแต่ช่วงผิวหนังที่ถูกตีบ่อยครั้งหรือถูกจิกจนกลายเป็นแผลต่าง ๆ ซึ่งจะแสดงอาการออกมาเป็นลักษณะของขนพองขึ้น เคลื่อนไหวตัวช้าลง เมื่อเดินแล้วจะแสดงอาการเจ็บปวดอย่างชัดเจน โดยแผลตีตัวนั้นจะเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ช่วงหน้าอก, ช่วงสามเหลี่ยมอก, ช่วงปีกข้างลำตัว, ช่วงแผ่นหลัง, ช่วงเข่า และช่วงสันหลัง ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งแผลภายนอกและแผลภายใน ดังนั้นวิธีแก้ไขเบื้องต้นคือการใช้น้ำอุ่นมาประคบบริเวณที่ถูกตีหรือจิก เพื่อลดความเจ็บปวดลงได้ดี จากนั้นให้นำใบพลูสดมาพันกับผ้าและนำกระเบื้องร้อนราดน้ำแล้ว มาทำการประคบพร้อมใช้มือนวดคลึงเบา ๆ ตรงจุดที่เกิดอาการบาดเจ็บ ทั้งนี้สามารถใช้เครื่องรมควันที่ให้อุณหภูมิเหมาะสม สร้างความอบอุ่นให้กับบริเวณช่วงลำตัวที่เกิดอาการบาดเจ็บ จะช่วยลดความเจ็บปวดและทำให้ไก่รู้สึกสบายตัวมากขึ้น
2.บาดเจ็บที่ปีก
อาการบาดเจ็บที่เกิดจากแผลบริเวณปีกหรือดุม จะมีได้ทั้งแผลภายนอกและแผลภายใน โดยจะแสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน คือ ปีกตกหรือมีอาการขนพอง เมื่อเปิดผิวบริเวณช่วงปีกดูแล้วจะกลายเป็นผื่นหรือมีรอยแดงและช้ำ ทำให้การบินขึ้นตีไม่ค่อยถนัดและถ้าโดนหนักอาจจะทำให้ขึ้นตีไม่ได้ไปเลย วิธีการรักษาเบื้องต้นคือการนำผ้ากาดน้ำอุ่นประคบที่ช่วงดุมหรือโคนปีน จากนั้นให้ใช้กระเบื้องร้อนราดน้ำกับใบพูสดพันผ้า มาทำการประคบอุ่น ๆ ให้กับไก่ แล้วใช้มือคลึงนวดเบา ๆ จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ดี
3.บาดเจ็บที่หน้าคอและสันคอ
อาการบาดเจ็บช่วงบริเวณหน้าคอ คือ การแสดงถึงความเจ็บปวดและคอที่หดลง หรืออาจจะออกเป็นอาการบวมให้เห็นอย่างเด่นชัด ส่วนบริเวณบาดเจ็บสันคอจะมีลักษณะคอตกหรืออาจจะยกคอไม่ขึ้นไปเลย วิธีการแก้ไขเบื้องต้นคือการนำผ้ามากาดน้ำอุ่น ใช้ผ้าพันใบพลูและใช้กระเบื้องร้อนราดน้ำมาประคบร่วมกัน จากนั้นให้นวดเบา ๆ ไปเรื่อย ๆ แล้วจับช่วงบริเวณลำคอของไก่ยืดตรง นวดผ่อนคลายทั้งหน้า คอ และใต้คาง ส่วนบริเวณสันคอให้ใช้กระเบื้องอุ่นประคบ ให้ใช้มือจับคอไก่ยืดขึ้น จากนั้นใช้ใบพลูและกระเบื้องอุ่นมานวดต่อเบา ๆ จะทำให้สามารถชูคอขึ้นได้อีกครั้ง
4.บาดเจ็บที่หู
อาการบาดเจ็บที่บริเวณหูจะหมายถึงการที่ไก่โดนตีที่หู จนทำให้หูอื้อและเกิดอาการเจ็บปวด ซึ่งจะแสดงออกอย่างชัดเจนคือไก่จะร้องออกมาเพราะจะรู้สึกเจ็บปวดมาก ถ้าเป็นหนักช่วงท้ายทอยอาจจะบวมหรือตึงขึ้นและทำให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่งอย่างชัดเจน ทั้งยังทำให้ไก่เกิดอาการทรงตัวไม่อยู่ เข้าเชิงไม่ได้ และกลายเป็นการเปิดโอกาสให้คู่ต่อสู้โจมตีได้ง่ายขึ้น วิธีการแก้ไขเบื้องต้น คือ การนำผ้ากาดน้ำอุ่นหรือชุบน้ำอุ่น แล้วนำไปนวดที่บริเวณท้ายทอย หู และบริเวณใกล้เคียง โดยเป็นการคลึงไปเรื่อย ๆ หลายรอบ จากนั้นปล่อยให้ไก่ได้ยืนหรือทรงตัวดูอีกครั้ง เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าอาการกลับมาปกติหรือไม่ เมื่อไก่กลับมาเป็นปกติแล้วให้นำกระเบื้องอุ่นมานวดคลึงบริเวณที่มีปัญหา แล้วใช้ผ้าคลุมหน้าพร้อมรมควัน เพื่อทำให้ไก่ได้รับการพักผ่อนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ไม่นานนักอาการของไก่ก็จะดีขึ้น
5.บาดเจ็บลูกกระเดือก
อาการบาดเจ็บที่บริเวณคางหรือใกล้กับลูกกระเดือก ถือว่าเป็นแผลที่มีความสำคัญมากพอสมควร เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการคอบวมที่ไปขวางทางเดินหายใจได้ จึงจะทำให้การหายใจลำบากมากยิ่งขึ้น จะแสดงออกอย่างชัดเจนด้วยเสียงภายในลำคอที่ดังผิดปกติ เมื่อเกิดปัญหานี้แล้วไก่ชนส่วนใหญ่มักจะหนี เพราะรู้สึกได้ถึงการหายใจที่ไม่ดีพอ วิธีแก้ไขคือการนำขนไก่มาทำการยอนคอและดูดเสลดกับน้ำลายออกไปให้หมด พร้อมการใช้น้ำมันพืชใส่ไปที่ขนไก่แล้วแยงลงไปที่บริเวณลำคอบ่อยครั้ง แต่ให้ใช้วิธีการค่อย ๆ หยอดและหมุนเบามือ นำน้ำมะเขือเทศหรือน้ำส้มมาหยอดให้ไก่ได้กิน เพื่อเพิ่มความสดชื่นและความชุ่มคอ จะทำให้การหายใจคล่องและสะดวกมากขึ้น สำหรับแผลที่อยู่บริเวณรอบนอกให้ใช้ผ้า กาดน้ำอุ่นแล้วนำมาประคบพร้อมนวดเบา ๆ อีกครั้ง
6.บาดเจ็บบริเวณตาและหัว
อาการบาดเจ็บที่บริเวณหัวและตา ถือว่ามีความสำคัญเช่นกัน ถ้ามีอาการช้ำ บวม หรือเป็นแผล ให้ใช้การประคบด้วยน้ำอุ่น แต่ถ้าเป็นอาการเลือดตาแตก เกิดเป็นปัญหาตาฟาง หรือตาปิดจนไม่สามารถจะลงชนได้ เพราะมองไม่เห็น ต้องมีการเย็บปิดให้เรียบร้อย โดยจะต้องเย็บช่วงบริเวณขอบตาบนกับขอบตาล่างให้ปิดสนิท เพราะถ้าโดนตีอีกอาจทำให้บาดเจ็บหนัก ซึ่งผู้ที่เป็นมือน้ำจะต้องมีความรู้ด้านการห้ามเลือด ด้านการเย็บ และการดูแลแผลเพื่อไม่ให้ติดเชื้อ พร้อมการประคบน้ำเย็น เพื่อทำให้เลือดหยุดไหลและทำให้แผลไม่บวมมากขึ้น ใช้ยาแผนปัจจุบันทาเพื่อรักษาอาการอักเสบ ซึ่งการเย็บแผลนั้นจำเป็นต้องเย็บให้สนิทกันทุกแผล เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกมากจนทำให้ไก่เสียชีวิตได้
ถ้าคุณต้องเผชิญปัญหา ไก่บาดเจ็บ สามารถใช้วิธีการแก้ไขทั้ง 6 อาการที่กล่าวไว้ข้างต้น และผู้ที่มีส่วนสำคัญมาก คือ มือน้ำหรือพี่เลี้ยงที่จะต้องมีความชำนาญในด้านการดูแลไก่ออกชนโดยเฉพาะ ซึ่งความสำคัญนี้ถือว่าจะเป็นคนที่สามารถชี้ชะตาว่าไก่จะแพ้หรือชนะ และจะยังคงมีโอกาสรอดกลับสู่ฟาร์มไก่อีกครั้งมากน้อยแค่ไหน?
ติดตามข่าวใหม่ได้ที่นี่! ข่าวไก่ชน
โพสต์โดย : SDHRH เมื่อ 1 ต.ค. 2565 00:43:03 น. อ่าน 147 ตอบ 0